ฉีดโปรแกรมฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อน เจาะลึกสาเหตุ วิธีแก้ไข และป้องกันภาวะนี้ได้อย่างไร?
สวัสดีครับ ช่วงนี้ผมเจอเคสฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อนมาปรึกษาเพื่อแก้ไขที่คลินิคอยู่เรื่อยๆเลยครับ วันนี้เลยจะนำหัวข้อฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อนมาเล่าให้ฟังกันครับ
ใต้ตาเป็นก้อนคืออะไร?
ก้อนใต้ตาจากการฉีดฟิลเลอร์คือการรวมตัวกันของเนื้อฟิลเลอร์ใต้ผิวหนัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผิวหนังใต้ดวงตาซึ่งเป็นบริเวณที่บอบบางมาก จึงมักพบภาวะนี้ได้ค่อนข้างบ่อย
สาเหตุการเกิดฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อน
- การฉีดฟิลเลอร์ผิดชั้น ผิดตำแหน่ง
- การเคลื่อนตำแหน่งของฟิลเลอร์ (Filler migration)
- การเลือกความเข้มข้น โมเลกุล หรือขนาดของเนื้อฟิลเลอร์ไม่เหมาะสม
- การสะสมของฟิลเลอร์ที่เคยฉีดมาเดิม ทับซ้อนกัน
ฉีดโปรแกรมฟิลเลอร์เป็นลำเป็นก้อนเกิดจากอะไร หมอไอซ์มีคำตอบ
ปัญหานี้ ผมเชื่อว่ารบกวนใจคนไข้หลายๆท่านอย่างมากเลยครับ โดยเฉพาะเวลายิ้ม หัวเราะ ถ่ายรูปแล้วยิ่งเห็นก้อนเด่นชัด ทำให้เสียบุคลิกภาพเสียความมั่นใจได้เลยทีเดียว
จากประสบการณ์แก้ไขเคสฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อนที่ผ่านของผม พบว่า สาเหตุทั้ง 4 ข้อที่ผมกล่าวไปนั้น ข้อ 1 หรือการฉีดฟิลเลอร์ผิดชั้น ผิดตำแหน่งนั้นพบได้บ่อยที่สุดครับ
ทำไมการวางฟิลเลอร์ในแต่ละชั้นถึงให้ผลแตกต่างกัน?
ทั่วไปแล้ว ชั้นโครงสร้างผิวใต้ดวงตา หรือบริเวณร่องน้ำตา ถุงใต้ตานั้นมีความซับซ้อน หลายชั้นมาก เรียงได้ 7 ชั้นครับ คือ
1. Skin ชั้นผิวหนัง
2. Subcutaneous fatty layer ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ซึ่งบางมากๆในบริเวณใต้กระบอกตา และแทบไม่มีไขมันชั้นนี้เลยในบริเวณเปลือกตาล่าง
3. Orbicularis oculi muscle ชั้นกล้ามเนื้อรอบดวงตา
4. SOOF ชั้นไขมันลึกใต้กล้ามเนื้อรอบดวงตา
5. Pre-zygomatic space ช่องว่างหน้ากระดูก
6. Pre periostea fat ชั้นไขมันหน้ากระดูก
7. Bone ชั้นกระดูก
ด้วยการเรียงตัวที่ซับซ้อน และบอบบางของแต่ละชั้น ทำให้แพทย์ที่ไม่ชำนาญอาจวางฟิลเลอร์ผิดชั้นได้ง่ายๆ และการวางแผนการรักษาร่องน้ำตา ถุงใต้ตาด้วยการฉีดฟิลเลอร์นั้น จำเป็นต้องประเมินสาเหตุของปัญหาให้ละเอียดก่อนการรักษาว่าเป็นจากความผิดปกติของโครงสร้างผิวหนังชั้นไหน เช่นถ้าคนไข้มีถุงใต้ตาเพราะชั้นที่ 2 บางตัวลงและชั้นที่ 4 อ่อนแอจนไม่สามารถพยุงเอ็นกล้ามเนื้อที่ป้องกันถุงใต้ตาได้ การรักษาที่เหมาะสมจึงควรฉีดฟิลเลอร์ทั้งชั้นที่ 2 และชั้นที่ 4 เป็นต้น หากแพทย์ทำการรักษาเพียงชั้นที่ 2 ชั้นเดียว ย่อมส่งผลให้เกิดภาวะฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อนได้ง่าย เปรียบเสมือนเราจะสร้างบ้าน แต่สร้างแค่หลังคา (ชั้นผิวที่ 2) ไม่สร้างเสาบ้าน (ชั้นผิวที่ 4) ทำให้เวลาคนไข้ยิ้ม แสดงสีหน้าอารมณ์ ฟิลเลอร์ในชั้นบนจึงรวมตัวเด่นชัด เห็นเป็นก้อนได้
นอกจากเทคนิคการวางฟิลเลอร์ในชั้นที่ถูกต้องตามปัญหาของคนไข้ซึ่งอาจเป็นได้ทั้ง 7 ชั้นโครงสร้างผิวแล้ว การเลือกโมเลกุล ความเข้มข้นของ HA ขนาดของฟิลเลอร์ ยังมีความสำคัญอย่างมากต่อผลการรักษา ซึ่งในแต่ละชั้นผิวต้องการความเข้มข้น โมเลกุล หรือขนาดของฟิลเลอร์ที่แตกต่างกัน
หากแพทย์เลือกฟิลเลอร์ที่มีความเข้มข้น HA สูงไปฉีดในชั้นตื้น เนื้อฟิลเลอร์จะดูดน้ำเพิ่มขึ้นมากและส่งผลให้ใต้ตาบวม เป็นก้อนได้ในที่สุด ดังนั้นการเลือกฟิลเลอร์แก้ไขปัญหาในชั้นตื้นจึงจำเป็นต้องพิจารณาฟิลเลอร์ที่มีความเข้มข้น HA น้อยๆ มีขนาดโมเลกุลเล็ก เพราะผิวชั้นตื้นนั้นบอบบางกว่านั่นเอง
นอกจากการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาใต้ตาให้ละเอียด การเลือกชนิดของฟิลเลอร์ให้เหมาะสมกับแต่ละชั้นโครงสร้างผิวแล้ว เทคนิคการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ก็ยังมีความสำคัญและผมมองว่าอาจเป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่สุดในการรักษาร่องน้ำตา ถุงใต้ตา ด้วยฟิลเลอร์ใต้ตา เพราะหากแพทย์วินิจฉัยถูก เลือกฟิลเลอร์ถูก แต่ฉีดฟิลเลอร์ไม่ตรงตำแหน่งที่วางแผนไว้ ก็จะส่งผลให้ร่องน้ำตาไม่ได้รับการแก้ไข และอาจกลายเป็นมีก้อนใต้ตาได้เช่นกัน
ฉีดโปรแกรมฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อน มาแล้วจะแก้ไขได้อย่างไร?
สามารถแก้ไขฟิลเลอร์ใต้ตาเป้นก้อนได้ด้วยการฉีดสลายด้วย hyaluronidase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สลาย HA ครับ แต่ในประสบการณ์ผมพบว่าควรสลายให้แม่นยำ ตรงเฉพาะจุดที่เป็นสาเหตุของก้อน เพราะในผิวเราเองก็ประกอบด้วย HA ธรรมชาติอยู่ด้วย ดังนั้นยาสลายที่มากเกินไปหรือไม่ตรงจุดก็อาจสลายผิวเราได้ด้วยทำให้ตาลึกโหลมากกว่าเดิมเสียอีก
โดยสรุป การฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อนนั้นเกิดจากหลายปัจจัยทั้งการประเมิน การเลือกฟิลเลอร์ เทคนิคการฉีด ความชำนาญแม่นยำ รวมถึงการให้ปริมาณ ฟิลเลอร์ที่เหมาะสมไม่มากหรือน้อยไปอีกด้วย การป้องกันไม่ให้เกิดฟิลเลอร์เป็นก้อนนั้นสำคัญมาก และถึงแม้จะเกิดก้อนจากฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วก็สามารถรักษาให้หายได้ (เฉพาะฟิลเลอร์ HA ของแท้เท่านั้นนะครับ) แต่ควรรักษากับแพทย์ที่ชำนาญ มีประสบการณ์ในเคสแก้ไขพอสมควรนะครับเพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสีย HA ธรรมชาติในผิวมากเกินไปนั่นเองครับ